อุปกรณ์ดับเพลิง (Fire Protection)

 

ชนิดของผงเคมีของถังดับเพลิงมีหลากหลายชนิด ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับหน้างาน/สถานที่ เนื่องจากประสิทธิภาพการดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับชนิดของสารดับเพลิงซึ่งบรรจุอยู่ในถัง อาทิ ผงเคมีแห้ง, คาร์บอนไดออกไซค์ ,โฟม หรือเคมีสูตรน้ำ ดังนั้นก่อนเลือกถังดับเพลิงมาใช้งาน ให้เราดูที่ฉลากข้างตัวถัง ซึ่งจะระบุประเภท  A,B,C,D หรือ K  ซึ่งหมายถึงถังชนิดนั้น มีความสามารถในการดับไฟอะไรได้บ้าง 

  • เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ และพลาสติก สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า
  • เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดิบ น้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซิน และก๊าซไวไฟ การดับเพลิงไหม้นี้ต้องดับโดยกำจัดออกซิเจนในอากาศที่อยู่โดยรอบออก
  • เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดเสียหาย เช่น มอเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือตัวแปลงกระแสไฟ ก่อนดับไฟควรตัดระบบไฟฟ้าทั้งหมดก่อน  
  • เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เกิดจากเชื้อเพลิงโลหะที่ติดไฟได้ เช่น ไทเทเนียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม โพแทสเซียม เป็นต้น ไม่สามารถใช้น้ำเปล่าดับเพลิงไหม้นี้ได้ 
  • เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible cooking) เกิดจากอุปกรณ์ทำอาหารในครัว เช่น น้ำมันประกอบอาหารหรือไขมันสัตว์ 

 

 

 

3.ถังชนิดผงเคมีสูตรน้ำ (Halotron) สีเขียวๆ เมื่อฉีดแล้วจะระเหยไปเอง ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A,B,C  มีราคาสูง เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ

 

 

4.ถังชนิดที่บรรจุสารฮาโลตรอน หรือน้ำยาที่มีชื่อว่า “ABFFC” ที่ใช้สำหรับการดับไฟได้ดี ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A,B,C หรือ K  ราคาจะสูงกว่าถังชนิดผงเคมีแห้ง เหมาะกับใช้งานในบ้าน เพราะสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันทอดในครัวเรือนได้ และหากมีการใช้งานแล้ว แต่ยังไม่หมด  สามารถใช้งานต่อจนหมดได้ ตัวถังมีหลายสี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เช่น สีฟ้า สแตนเลส หรือสีเขียว 

 

 

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

1.    เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ  2 – 3  เมตร
2.    ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
3.    ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ  ( ทำมุมประมาณ  45  องศา )
4.    บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
5.    ให้ฉีดไปตามทางยาว  และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
6.    ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า

 การติดตั้งและดูแลรักษาถังดับเพลิง

1. ให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ส่วนใดของบ้าน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้จากเชื้อเพลิงชนิดใด เราก็จัดวางถังดับเพลิงให้ถูกต้องตามประเภทของไฟที่เกิดขึ้น เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมัน หรือไฟฟ้า ถ้าไม่มีพื้นที่วางถังดับเพลิงให้ยึดติดกับผนัง โดยให้สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1 เมตร แต่ไม่ควรเกิน 1.50 เมตร เพราะจะหยิบมาใช้งานได้ไม่สะดวก

2. มีป้ายหรือสัญลักษณ์บอกประเภทของถังดับเพลิงที่ชัดเจน รวมถึงวิธีการใช้งาน ณ จุดติดตั้ง

3. การตรวจสอบสภาพของถังดับเพลิง อาจทำเป็นป้ายกำกับแขวนไว้ที่ตัวถังเพื่อให้รู้ว่ามีการตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อใด วิธีการตรวจสอบว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ให้ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง ถ้าถังดับเพลิงอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว แต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันใหม่ ทั้งนี้เราควรหมั่นตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน

4.สำหรับอายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ส่วนชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 ,มีอายุประมาณ 10 ปี และถึงแม้จะไม่มีการใช้งาน เราก็ต้องส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่

สำหรับบ้านหรือที่พักอาศัยทั่วไปอย่างทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม แม้กฎหมายจะไม่บังคับ แต่ขอแนะนำให้มีติดบ้านไว้อย่างน้อยชั้นละ 1 ถัง เพื่อความอุ่นใจ หากเกิดอัคคีภัย จะได้แก้ไขได้ทันที อาจเลือใช้ ถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง  ที่มีสีแดงเพราะสามารถดับไฟได้ทั้งประเภท A,B,C  และมีราคาไม่แพง แต่สำหรับสถานที่ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพง เราก็ควรเลือกใช้ถังดับเพลิงประเภทก๊าซ ที่มีสีเขียว เพราะจะไม่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย เมื่อเทียบกับถังดับเพลิงแบบผงเคมีแห้ง  ที่จะทิ้งคราบฝุ่นหรือผงแป้งสีขาวไว้หลังการใช้งานนั่นเอง

 

 

 

ข้อควรสังเกต/ ข้อควรจำ

  1. ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ เข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียว

                                        

 

  1. อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี

 

  1. Fire Rating ที่ติดอยู่ฉลากข้างถังครับ คือแสดงเป็น x A : x B เช่น 2A 2B , 1A 10B , 6A 20B ตัวเลขยิ่งมากยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพการดับไฟได้มาก ตามภาพประกอบ
  2. Fire Rating ไฟประเภท B ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งสามารถดับไฟในถาดน้ำมันขนาดใหญ่ขึ้น และปริมาณน้ำมันมากขึ้นได้

 

  1. สำหรับ ไฟประเภท C คือไฟฟ้า ไม่มี Rating แต่ด้านข้างถังจะบอกว่าถังดับเพลิงนั้นดับประเภท C ได้หรือไม่เท่านั้น หากดับได้ ก็ถือว่าไฟประเภทนั้นจะกลายเป็นประเภท A และ B ในระยะต่อไป เพราะไฟฟ้าเป็นแค่ต้นเหตุทำให้เกิดไฟไหม้เท่านั้น ไม่ได้เป็นเชื้อทำให้ไฟติด
  2. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ควรเลือก Fire Rating ตั้งแต่ 4A5B ขึ้นไป

 

 

 

Reference

https://www.officemate.co.th/blog/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87/

 

สายดับเพลิง

คุณสมบัติของสายดับเเพลิงทั้ง 2 ชนิด

1. ปริมาณการจ่ายน้ำสายดับเพลิงขนาด 1.5 นิ้ว จะสามารถจ่ายปริมาณน้ำได้ประมาณ 150 GPM ในขณะที่สายดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้ว จะจ่ายน้ำได้ถึง 400 GPM ซึ่งจะเปรียบเทียบได้ในหัวข้อต่อไป

2. น้ำหนักของสายดับเพลิงขนาด 1.5 นิ้วนั้น ที่ขนาดความยาวประมาณ 50 ฟุตหรือ 15 เมตรนั้นจะหนัก 5 กิโลกรัมแต่ถ้าเป็นสายดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้วจะหนักถึง 10 กิโลกรัม

 

สายดับเพลิงวัสดุที่ทำจากผ้า
ผิวชั้นนอกสุดทำจากเส้นใยสังเคราะห์ โพลีเอสเตอร์ คุณภาพดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าจะมีการนำเส้นใยชนิดอื่นมาผสมมากน้อยแค่ไหนซึ่งถ้าผสมมากก็จะราคาถูกแต่ก็ขาดง่ายเป็นต้น  ผลิตจากใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ 100% ทนต่อทุกสภาพอากาศ น้ำทะเล น้ำกร่อย โอโซน รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต น้ำหนักเบา ใช้งานได้สะดวก ทำความสะอาดง่าย ไม่ดูดซับน้ำ และม้วนเก็บได้ทันทีหลังใช้งานโดยไม่ต้องทำให้แห้งก่อน  

ขนาด 1.5"x20เมตร และ 30 เมตร พร้อมข้อต่อสวมเร็ว 1.5"หรือ 2.5" ทองเหลือง มีให้เลือกสีขาวและสีแดง  

 ขนาด 2.5"x20เมตร และ 30 เมตร พร้อมข้อต่อสวมเร็ว 1.5"หรือ 2.5" ทองเหลือง มีให้เลือกสีขาวและสีแดง

สายอาบยางภายใน และเครือบ PVC ภายนอก เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคาร ทนต่อการเสียดสีได้ดี

 

สายดับเพลิงวัสดุที่ทำจากยาง
ผลิตขึ้นจากยางชนิดต่างๆ เช่น ยางธรรมชาติ, ยางสังเคราะห์ เช่น ยูรีเทนไนไตร เป็นต้น
ข้อแตกต่างของชนิดยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์นั้นคือ ยางธรรมชาติถ้าเก็บไว้นานจะสายจะยึดละลายเหนียวติดกันคล้ายหนังยางแต่สำหรับชนิดยางสังเคราะห์แล้วจะไม่เป็นคือเมื่อถึงเวลาจะหลุดและขาดไปเอง ยางสังเคราะห์นั้นก็มีข้องแต่ต่างกันอยู่เช่น ยูรีเทนจะเบากว่า ไนไตรเป็นต้น

คุณสมบัติ เป็นสายส่งน้ำดับเพลิงชนิดยางหนาสามชั้น มีความยืดหยุ่นสูง มีขอบริ้วที่ใหญ่หนาประมาณ 2.5 มิลลิเมตรทำให้สามารถทนทานการลากถูมากขึ้นในหลายพื้นที่ ทนทานต่อการขีดข่วนลากถูได้สูงเมื่อต่อเทียบกับสายส่งน้ำดับเพลิงชนิดอื่นทนทานต่อแรงอัดแรงดันของน้ำที่ส่งผ่านได้อย่างดีเยี่ยม ทนทานต่อสารละลายทางเคมี และน้ำมันปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ในทุกสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ -30◦c ไปจนถึง 80◦c ไม่จำเป็นต้องล้างทำความสะอาดและผึ่งแห้งหลังจากใช้งาน 

 

สายส่งน้ำดับเพลิงไนล่อนอาบยางภายใน

ทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ภายนอกเคลือบ Polyurethane สีแดง และทน ต่อแรงอัดดันของน้ำได้สูงป้องกันเชื้อรา ขนาด 1.5 นิ้ว ยาว 20,30 เมตร, ขนาด 2 นิ้ว ยาว 20,30 เมตร ขนาด 2.5 นิ้ว ยาว 20,30 เมตร

 

สายส่งน้ำที่ผลิตจากยางมีส่วนประกอบดังนี้

สายแบบยางนั้นด้านในกับด้านนอกจะใช้วัสดุตัวเดียวกันกับยางไนไตร เหตุผลก็เพราะยางชนิดนี้จะสามารถทนกรด, ด่าง และ การขูดขีดได้ค่อนข้างดี จะมีการเสริมความแข็งแรงของสายโดยใช้เส้นใยไนล่อนเสริมเข้าไปเพื่อให้สายสามารถทนแรงดันได้สูงขึ้น

สายทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกันดังนี้

1. สายแบบยางนั้นจะสามารถทนกรด,ด่าง และรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ค่อนข้างดีในขณะที่สายแบบผ้านั้นอาจจะแพ้ กรด, ด่างบางชนิดถึงขนาดว่าถ้าโดนเข้าไปแล้วสายอาจจะเปื่อยยุ่ย

2. สายแบบผ้านั้นต้องการ การดูแลรักษาที่ค่อนข้างมาก หากเป็นไปได้ควรทำความสะอาด และ ตากให้แห้งเพราะจะได้ไม่เกิดเชื้อราขึ้น ส่วนสายแบบยางนั้นเราดูแลรักษาค่อนข้างง่ายแต่ก็ควรทำความสะอาดและตรวจสอบก่อนใช้งานเสมอ

3. สายแบบยางนั้นจะไม่ค่อยทนต่อการขูดขีดที่เกิดจากกะจก, สังกะสี หรือสิ่งอื่นใดที่มีความคม ส่วนสายผ้านั้นหากเจอสิ่งเหล่านี้จะทนได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นตะปูอันนี้ก็ไม่รอดทั้งคู่