อุปกรณ์ทำงานบนที่สูง (Fall Protection)
อุปกรณ์ป้องกันการตก (Fall Protection)
อุบัติเหตุอันเกิดจากการตกจากที่สูง
การตกจากที่สูงยังคงเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของการเสียชีวิตจากการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ในการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการตกจากที่สูง พบว่า 54% ของคนงานที่เสียชีวิต ไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล และ คนงานไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมเรื่องการทำงานบนที่สูง การทำงานบนที่สูงเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง หากเกิดความผิดพลาดระหว่างการปฏิบัติงานอาจทำให้คนงานตกลงมาและเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกกฎหมายบังคับให้สถานประกอบการหรือนายจ้างต้องให้ความสำคัญกับคนงานที่ทำงานบนที่สูงให้ทำงานได้อย่างปลอดภัยตลอดการทำงาน รวมไปถึงจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกจากที่สูงที่ได้มาตรฐานสากล
กฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๖๔: กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานในที่สูง ดังนี้
- การประเมินความเสี่ยง: นายจ้างต้องประเมินความเสี่ยงอันตรายจากการทำงานในที่สูง และกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม
- การจัดทำแผนปฏิบัติงาน: ต้องมีแผนปฏิบัติงานที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานในที่สูง
- อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง (Fall Protection Equipment): กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เช่น ชุดสายรัดนิรภัย (Harness), สายช่วยชีวิต (Lanyard), จุดยึด (Anchorage) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์: ต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
- การติดตั้งราวกันตก: ในกรณีที่จำเป็น ต้องติดตั้งราวกันตกที่มีความสูงตามที่กำหนด (ไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร)
- การจัดให้มีการฝึกอบรม: นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำงานในที่สูงอย่างปลอดภัย รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงอย่างถูกต้อง
- การติดป้ายเตือน: ต้องติดป้ายเตือนอันตรายในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการตกจากที่สูง
- ความสูงที่ต้องมีมาตรการป้องกัน: โดยทั่วไป หากทำงานสูงจากพื้นดิน 2 เมตรขึ้นไป ถือว่าเป็นการทำงานในที่สูง และต้องมีมาตรการป้องกันการตก
- การทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตร: ต้องมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น การสวมใส่เข็มขัดนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต การใช้ตาข่ายนิรภัย และการมีราวกันตก
มาตรฐานของอุปกรณ์กันตกของต่างประเทศมีหลักๆอยู่ 3 แบบ
1. ANSI
เป็นมาตรฐานของอเมริกา มาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเอกสารที่มีอํานาจในการป้องกันการตกจากที่สูง และเป็นข้อมูลอ้างอิงในข้อบังคับของ OSHA และ แนวทางปฏิบัติอื่นๆ ของอุตสาหกรรม การแก้ไขล่าสุดคือ Z359.14-2021 ซึ่งเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2021 ข้อกําหนดที่อัปเดตสําหรับอุปกรณ์ที่ดึงกลับได้เอง (SRD) ที่ใช้ในระบบป้องกันการตกจากที่สูง
มาตรฐาน Z359.14 อุปกรณ์ที่ดึงกลับได้เองถูกกําหนดให้เป็น "อุปกรณ์ที่มีสายพันกลองที่ล็อกโดยอัตโนมัติเมื่อเริ่มเกิดการตกเพื่อหยุดผู้ใช้ แต่จะจ่ายออกจากและดึงกลับเข้าไปในกลองโดยอัตโนมัติในระหว่างการเคลื่อนไหวปกติของบุคคลที่ผูกสายไว้"
2. OSHA
เป็นเหมือนส่วนนึงของกรมแรงงานของอเมริกา การอบรบและมีความรู้มากพอเพื่อที่จะใช้งานอุปกรณ์กันตกประกอบด้วยข้อบังคับที่ครอบคลุมซึ่งกําหนดคุณลักษณะ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการฝึกอบรมที่จําเป็นสําหรับระบบเชือกช่วยชีวิตที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
OSHA 1910.140(b) กําหนด SRL ในลักษณะเดียวกับ ANSI โดย OSHA 1910.140 ครอบคลุมข้อกําหนดและมาตรฐานสําหรับระบบป้องกันการตกจากที่สูงส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม แตกต่างจาก ANSI ตรงที่ OSHA ไม่ได้แบ่ง SRLออกเป็นคลาสต่างๆ
OSHA 1910.140(d)(1) กําหนดข้อกําหนดพื้นฐานบางประการสําหรับ SRL มาตรฐานนี้จํากัดแรงหยุดสูงสุดของคนงานไว้ที่ 1,800 ปอนด์ และระยะชะลอความเร็วสูงสุดไว้ที่ 3.5 ฟุต นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่าระบบจะต้องสามารถรองรับคนงานในเหตุการณ์พลัดตกได้โดยไม่สัมผัสบริเวณคอและคาง
3. EN
หมายถึง European Norm หรือที่เรียกว่า European Standards หมายถึงมาตรฐานที่พัฒนาและเผยแพร่โดย European Organisation for Standardization (CEN) ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการในหลายสาขา รวมถึงการก่อสร้าง เครื่องจักร ไฟฟ้า การแพทย์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
1.มาตรฐาน EN 795 : 2012 คือ มาตรฐานด้านความปลอดภัยของกลุ่มประชาคมยุโรป ที่อธิบายถึงข้อกําหนดทางเทคนิคที่ใช้กับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลหรือระบบเกี่ยวยึดระบบป้องกันการตกในแนวนอน ใช้ได้กับความลาดเอียงไม่เกิน 15 °
2. EN 353-2:2014 เป็นข้อกำหนดและวิธ๊การทดสอบสำหรับระบบป้องกันการตกแบบมีไกด์ รวมถึงสายยึดแบบ
ยืดหยุ่นเพื่อให้แน่ใจว่าป้องกันการตกได้ มุมเอียงไปข้างหน้าหรือมุมเอียงด้านข้าง อยู่ระหว่าง 85° ถึง 95°
3. EN 355:2002 ระบุข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับตัวดูดซับพลังงานที่เป็นไปตามมาตรฐานยุโรปที่สามารถรวมเข้า
กับเชือกป้องกันตก ตัวป้องกันการตกแบบดึงกลับได้
4. EN 358:2018 ใช้กับเข็มขัดและเชือกคล้องที่ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการจัดตำแหน่งหรือควบคุมการทำงาน
5. EN361:2002 กำหนดวิธีการทดสอบ คำแนะนำการใช้งาน เครื่องหมาย และบรรจุภัณฑ์สำหรับตัวสายรัดแบบเต็มตัว
ซึ่งรับประกันความปลอดภัยของผู้ใช้ปลายทางในกรณีที่เกิดอันตรายจากการตก
6. EN362: เป็นข้อกำหนดสำหรับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการตกจากที่สูงเช่น ขั้วต่อ คาราบิเนอร์และอลูมิเนียมและเหล็กทั้งหมดได้รับรองมาตรฐานEN362 มีกลไกการล็อคและขนาดต่างๆ
7. EN365:2005 การกำหนดค่าทั่วไปของตำแหน่งการทำงานและการป้องกันการตกจากที่สูงนอกจากนี้ยังระบุถึงการทำเครื่องหมาย คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบตามระยะเวลาการบำรุงรักษา การซ้อมแซมรวมถึงการบรรจุหีบห่อ
8. EN517:2006 ข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับตะขอเกี่ยวกับนิรภัยบนหลังคา มาตรฐานนี้ระบุว่าตะขอนิรภัยต้องรับน้ำหนักนิรภัยได้เท่าใดและจะต้องทดสอบและรับรองอย่างไร
9.EN813:2009 ข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับสายรักนิรภัยแลลมีจุดยึดต่ำสายนิรภัยแบบมีจุดยึดสามาถรใช้ในระบบการจำกัดการวางตำแหน่งการทำงาน
10.EN1808:2015 เป็นมาตรฐานยุโรประบุถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์การเข้าถึงแบบแขวน โดยใช้ได้กับอุปกรณ์ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว
11.EN60204-1:2006 คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกณร์ไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักร รวมถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจาก อุปกรณ์กันตก เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานบนพื้นที่สูง เช่น การก่อสร้าง การซ่อมบำรุง หรือการทำความสะอาดอาคารสูง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ อุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อรัดกายของผู้ปฏิบัติงานให้ติดแน่นกับจุดยึดที่มั่นคง ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะไม่ตกลงมาจากที่สูง
สิ่งที่คนที่ทำงานบนที่สูงต้องใช้หลักๆ คือ เข็มขัดนิรภัย สายเซฟตี้นิรภัย จุดยึด และ เชือก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการ ตกจากที่สูงและจำกัดระยะการตกได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงเวลาทำงานบนที่สูงคือความปลอดของอุปกรณ์ที่ใช้และต้องเช็คก่อนทุกครั้งก่อนใช้งานเพื่อระวังและเช็คความปลอดภัยของผู้ใช้เอง
1.จุดยึด Anchor Point สำคัญมากเมื่อคุณต้องทำงานบนที่สูง เนื่องจากจุดยึดจะมีหน้าที่ในการยึดระหว่างอุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล (เช่น เข็มขัดนิรภัย เชือกนิรภัย) ผู้ใช้ควรติดจุดยึดเกี่ยวที่อยู่เหนือหรือระดับไหล่เป็นอย่างน้อย หากจุดยึดเกี่ยวต่ำกว่านี้ระยะทางของการตกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งให้ผู้ใช้งานตกอยู่ในความเสี่ยงจุดยึดที่มั่นคงซึ่งสามารถรับน้ำหนักแรงที่เกิดขึ้นในกรณีที่มีการตกได้
- มีทั้งจุดหยุดแบบชั่วคราวและจุดยึดถาวร
- จุดยึดชั่วคราว เป็นจุดยึดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ไม่ได้ติดตั้งให้ยึดเกาะกับตัวอาคาร
- จุดยึดที่เป็นแบบถาวรผู้ติดตั้งจะต้องได้ใบรับรองในการติดตั้ง รวมทั้งจุดยึดกับคอนกรีต
ตัวอย่างจุดยึดที่ปลอดภัย
ตัวอย่างจุดยึดแบบชั่วคราวและจุดยึดแบบถาวร
2. เข็มขัดนิรภัย แบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
- แบบเต็มตัว Body wear (full body harness) เป็นแบบที่ปลอดภัยที่สุดประกอบด้วยสายรัดรอบตัวช่วงอก ช่วงขา และไหล่ เพื่อกระจายแรงกระแทกเมื่อเกิดการตกผู้ใช้งานต้องสวมใส่ทั้งตัวไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่งเป็นอุปกรณ์ที่คอยดึงและประคองผู้ใช้งานถ้าเกิดการตกโดยจะต้องเลือกเข็มขัดให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานและจะต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด ซึ่งปกติจะอยู่ด้านหลังสายรัดต้องทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่อ่อนนุ่มแต่ทนทาน เช่น โพลีเอไมด์ หรือ โพลีเอสเตอร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงจุดเชื่อมต่อ
- เข็มขัดนิรภัยแบบครึ่งตัว (Body Belt/Waist Belt): ไม่แนะนำให้ใช้ในงานกันตก เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงที่ช่วงเอวหรือกระดูกสันหลังเมื่อเกิดการตก ปัจจุบันนิยมใช้เฉพาะในงานที่จำกัดการเคลื่อนที่ เช่น งานบนเสาไฟฟ้า
ในการเลือกเข็มขัดกันตก (Harness) มีปัจจัยดังนี้
- ต้องเข้าใจหน้างาน เช่น ความสูงของตัวอาคารถึงพื้นด้านล่างว่ามีความสูงอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อที่จะได้เลือกความยาวของเข็มขัดกันตกได้ถูกต้อง
- เข้าใจการทำงานและคุณสมบัติเข็มขัดกันตก เช่น มีตัวพยุงหลัง หรือ D-ring ตะขอกันตก
- ขนาดตัว รูปร่างของผู้ใช้งาน เพื่อที่จะเลือกใช้งานเข็มขัดกันตกได้ถูกต้อง
3. ตะขอกันตก เป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์กันตก จากที่สูงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเกี่ยวหรือยึดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆในระบบกันตก เช่น เกี่ยวระหว่างเชือกนิรภัยกับห่วง D-ring บนเข็มขัดนิรภัย หรือเกี่ยวระหว่างเชือกนิรภัยกับจุดยึด (Anchor Point)
4. D-Ring คืออุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวในรุ่นมาตรฐานนั้นผู้ผลิตจะติดตั้งมาให้1จุดบริวณ ด้านหลังของชุดโดยผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อการใช้งานตามมาตรฐานกำหนด
นอกจากนี้โดยทั่วไปห่วง D-Ring ที่ติดตั้งอยู่บนชุดเข็มขัดนิรภัยแบบเต็มตัวสามารถมีได้มากกว่า1จุดเช่นกัน ตามภาพ
D-ring Back (ด้านหลัง) Fall arrestor rescue(ช่วยชีวิต)
D-ring Front (ด้านหน้า) work suspension หรือ rescue(ช่วยชีวิต)
D-ring ด้านบน เหมาะกับงานทำงานในที่แคบ
D-ring ด้านข้าง เหมาะกับงานทำงานในที่แคบ work positioning (สำหรับการทำงานบริเวณเดิมๆ)
5. อุปกรณ์เชื่อมต่อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ระหว่าง Body wear กับ Anchorage เพื่อเป็นการป้องกันการตกอย่างสมบูรณ์
เช่น สายช่วยชีวิต
-เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต (Lanyard หรือ Lifeline) หมายถึง สลิง เชือก หรือวัสดุอื่น ที่มีความแข็งแรงใกล้เคียงกัน ยึดกับจุดยึดเกี่ยวในแนวนอนหรือแนวดิ่ง ใช้สำหรับยึดเกี่ยวหรือคล้องกับเชือก นิรภัยหรือสายช่วยชีวิตเพื่อยับยั้งการตก ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเคลื่อนที่ไป – มาตามทิศทางในขณะที่เคลื่อนที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน บนที่สูง เช่น บนหลังคา โครงสร้าง ช่องเปิด เป็นต้น) ความยาวเชือกควรมีระยะสั้นที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ใช้พลัดตกไปเกิน 2 ฟุต ซึ่งเชือกสามารถทำจากวัสดุได้หลายชนิดทั้ง ลวดสลิง, โซ่, เชือกไนล่อน (โพลีเอไมด์) อาจจะมีเสริมอุปกรณ์ดูดซับแรง (Shock-Absorb) เพื่อลดแรงกระแทกเวลา
- แบบเชือกก็มีหลากหลายให้ตัวผู้ใช้งานเลือกแล้วแต่ว่าผู้ใช้งานจะเลือกวัสดุแบบไหน แบบแรกคือ แบบหยักหรือที่เรียกว่ายางยืด สายเชือก สายแบน
Single Lanyard w/o shock absorber เชือกเส้นเดี่ยวแบบไม่มี shock absorber
-เหมาะกับ: Restraint ผู้ใช้งานไม่มีโอกาสตก
Single Lanyard with shock absorber เชือกเส้นเดี่ยวแบบมี shock absorber เหมาะกับผู้ใช้งานไม่มีโอกาสตกและการทำงานที่มีโอกาสตก โดยต้องคำนวณระยะตกจากความสูงตัวอาคารจนถึงพื้นด้านล่าง
Double Lanyard with shock absorber เชือกคู่แบบมี shock absorber เหมาะกับการทำงานที่มีโอกาสตก งานที่ต้องปีนป่าย โดยการทำงานของเชือกจะเป็นการล็อคแบบสองต่อ ล็อคข้างหน้าและข้างหลัง
เชือกเส้นเดี่ยวพร้อมตัวล็อคสามารถปรับได้ เหมาะกับผู้ที่ทำงานกับอยู่กับที่
Ropegrab เป็นอุปกรณ์ป้องกันการตกแนวดิ่งที่สามารถขึ้น-ลงเชือกได้อิสระ และยังสามารถล็อคเชือกได้ทันที เมื่อเกิดแรงกระชาก
ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเชือกกันตกสำหรับบุคคล มีเปิดแผ่นด้านข้างเพื่อติดตั้งกับเชือกได้ทุกตำแหน่งที่ต้องการ
แต่เมื่อปรับคันโยกลงก็สามารถหยุดอยู่บนเชือกได้ในจุดที่ต้องการ อุปกรณ์ตกกันสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงควรมี
รอกตัวเล็กพร้อม shock absorber
โดยทั่วไปความยาวของรอกตัวเล็กที่นิยมใช้จะมีขาดอยู่ที่ 1.5 -2 เมตร ไปจนถึง 3 เมตร แต่ความยาว 3 เมตร คนมักนิยมใช้น้อย และตัวสายจะเป็นสายเชือกแบบแบนหรือที่เรียกว่า WEBBING นั่นเอง ทำหน้าที่เหมือน Lanyard with shock absorber เพื่อสะดวกในการใช้งาน จะมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ตัวล็อคจะล็อคทันทีเมื่อมีการตก เหมาะกับการทำงานที่มีโอกาสตก ปีนป่าย
รอกตัวใหญ่ สายเคเบิลมีความยาวถึง 20-30 เมตร
โดยความยาวของรอกตัวใหญ่จะมีความยาวตั้งแต่ 3 เมตรถึง30เมตร โดยสายในรอกตัวใหญ่จะเป็นสายเคเบิลหรือที่เรียกว่า SLING นั่นเอง ซึ่งจะแข็งแรงกว่าสายแบบWEBBING ที่ตัวสายเป็นเชือกแบบแบน เหมาะกับการทำงานที่มีโอกาสตก งานจัดของบนรถบรรทุก งานที่มีการเคลื่อนไหว หรือเดินเยอะ สามารถใช้ได้ทั้งเชือกกันตกแบบแนวดิ่งและแบบแนวนอน (เป็นแบบกันบาด)
การคำนวณระยะการตกเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกอุปกรณ์กันตก มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ความยาวของเชือกนิรภัย
2.ระยะที่อุปกรณ์ดูดซับแรงกระชากยืดออก
3.ความสูงของผู้ใช้งาน
4.ระยะพื้นที่ที่ปลอดภัย (3ฟุต)1เมตร
ตัวอย่าง ความยาวของเชือกนิรภัย (6 ฟุต) +ระยะที่อุปกรณ์ดูดซับแรงกระชากยืดออก (3.5 ฟุต) +ความสูงของผู้ใช้งาน (6 ฟุต) +ระยะพื้นที่ปลอดภัย (3 ฟุต) ดังนั้นสามารถใช้อุปกรณ์กันตกกับความสูง18.5 หรือ 6เมตรขึ้นไป
วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์กันตก มีดังนี้
- ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งานทุกครั้งเพื่อหาร่องรอยความเสียหาย เช่น รอยฉีกขาด รอยแตก รอยร้าวหรือการสึกหรอ
- ตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ เช่น หัวเข็มขัด ห่วง ตัวล็อค ว่าอยู่ในสภาพดีและใช้งานได้ปกติ
- จัดตารางการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยปีละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นหากใช้งานหนัก
- หลังการใช้งาน ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ทันที เพื่อขจัดสิ่งสกปรกคราบเหงื่อหรือสารเคมีที่อาจติดอยู่
- ใช้น้ำสบู่อ่อนๆและแปรงขนนุ่มทำความสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีสารเคมีรุนแรงเพราะอาจทำลายวัสดุของอุปกรณ์
- ห้ามใช้น้ำแรงดันสูงในการทำความสะอาด เพราะอาจทำให้เส้นใยของสายรัดหรือเชือกกันตกเสียหาย
- ผึ่งลมให้แห้งสนิทในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวกก่อนเก็บรักษา
- เก็บอุปกรณ์ในที่แห้ง สะอาด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการเก็บในที่อับชื้นหรือโดนแสงแดดโดยตรง
- แขวนอุปกรณ์ในลักษณะที่ไม่ทำให้เกิดการบิดงอ หรือกดทับ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือวัตถุมีคม
วิธีเช็คว่าอุปกรณ์กันตกเสื่อมสภาพหรือยัง มีวิธีสังเกตุดังนี้
1.ตรวจเช็คเรื่องอายุการใช้งานของอุปกรณ์ วิธีดูคือดูบนเชือกจะมี LABELที่จะระบุถึงปีผลิตที่ระบุอยู่หากมีการใช้งานที่เกิน5ปีแล้วนั้น หรือไม่สามารถเช็คปีผลิตได้หรือป้ายมีความเลือนลางของปีผลิต ตามคำแนะนำไม่ควรจะใช้อุปกรณ์นั้นแล้ว แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกรณ์กันตกของผู้ใช้งาน หากมีสภาพตามที่กล่าวข้างต้นไม่แนะนำให้เอาอุปกรณ์กันตกอันนั้นมาใช้อีก
ตัวอย่างภาพของอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานเกิน
2.หากมีสนิมขึ้นบนอุปกรณ์ที่เป็นเหล็กหรือห่วงD-RING โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าสนิมนั้นไม่ได้กินเข้าไปในเนื้อของอุปกรณ์ของท่านแล้ว หากสนิมกินเนื้อเหล็กของอุปกรณ์ของท่านแล้ว ตัวชุดอุปกรณ์กันตกของท่านนั้นคืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว วิธีตรวจเช็คว่าสนิมได้ขึ้นอุปกรณ์ของท่านถึงเนื้อเหล็กหรือยังมีวิธีเช็ค ดังนี้
1.ตรวจสอบว่าเหล็กนั้นเป็นสนิมระดับที่เท่าไหร่ ดูว่าเป็นแค่ที่ผิวเหล็กหรือได้กัดกินเนื้อเหล็กแล้ว ตรวจสอบโดยการใช้มือลูบผิวเหล็กที่เกิดสนิม ถ้าสนิมหลุดออกมาด้วยแปลว่าเป็นแค่ที่ผิวเหล็ก
2.ในกรณีตรวจสอบแล้วพบว่าชิ้นงานเป็นสนิมที่ผิวเหล็กต้องทำการขจัดออกด้วยวิธีต่างๆเช่น ฉีดน้ำแรงดันสูงให้สนิมหลุดออกมาหรือแช่น้ำอุ่นแล้วผสมกรดหรือวิธีการที่ผู้จำหน่วยแนะนำ
3.หากตรวจสอบแล้วพบว่าเหล็กนั้นถูกสนิมกัดกร่อนถึงพื้นผิวแล้ว แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกเนื่องจากสนิมได้ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นขาดคุณสมบัติได้
ตัวอย่างภาพของอุปกรณ์ที่ขึ้นสนิม
3.ถ้าบนอุปกรณ์การใช้งานมีรอยร่องรอยการชำรุด เช่น การรุ่ย เปื่อย เป็นขุย รอยปริ รอยถลอก ผู้ใช้งานไม่ควรนำมาใช้เป็นอันขาดเนื่องจากรอยต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอุบัติเหตุได้เนื่องจากเชือกนั้นไม่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
ตัวอย่างภาพที่เกิดการชำรุดบนสายของอุปกรณ์
4.หากพบเจอรอยเขียนบนอุปกรณ์โดยปากกาเมจิหรือปากกาเคมี ไม่แนะนำให้ใช้งานเนื่องจากในปากกานั้นอาจจะมีสารเคมีไปทำปฎิกิริยากับตัวเชือกของอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน จึงแนะนำไม่ควรเขียนอะไรลงบนเข็มขัด/อุปกรณ์ที่ท่านใช้งานโดยตรง
ตัวอย่างภาพของอุปกรณ์ที่มีการเขียนลงบนอุปกรณ์
อ้างอิง
https://www.visualworkplaceinc.com/product/safety-poster-the-abcs-of-fall-protection/
https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/754-2020-07-16-08-35-58
https://thai-safetywiki.com/%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87-d-ring/
https://www.workandsafe.co.th/lifeline
https://fallprotec.com/certifications
https://www.naewna.com/local/665545