อุปกรณ์ป้องกันมือ (Safety Gloves)

                                               

 

     'มือ' เป็นอวัยวะที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในโรงงานที่มีทั้งเครื่องจักรและกระแสไฟฟ้าในการทำงานนั้น ส่วนที่สำคัญอีกหนึ่งนั้นก็คือ “ถุงมือ” หรืออุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บที่มือ (Hand Protection) ที่มีความจำเป็นมากๆ จะต้องเลือกให้เหมาะกับงาน และประเภทถุงมือก็ต้องเหมาะสมตามความเสี่ยงของลักษณะงานอีกด้วยเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในขณะที่ทำงานและเพื่อให้ถุงมือนั้นสามารถป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีการใช้ถุงมือนิรภัยในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิต การซ่อมบำรุง การดูแลสุขภาพ การแพทย์ หรือตามครัวเรือน

     

    เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับถุงมือป้องกัน ที่จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าถุงมือที่เรากำลังเลือกซื้อมาใช้นั้น มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน และสามารถปกป้องมือของเราได้จริงๆ ซึ่งในการเลือกซื้ออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยประเภทถุงมือนิรภัย ต้องตรวจสอบมาตรฐานของถุงมือแต่ละประเภท ให้ตรงตามลักษณะของอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น เนื่องจากแต่ละมาตรฐานจะมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน ตามประเภทของถุงมือนิรภัยชนิดนั้นๆ ดังนี้     

 

    DIN EN 420 มาตรฐานนี้จะกำหนดคุณลักษณะของถุงมือป้องกันต่างๆ ดังนี้ :

- วิธีการทดสอบที่เกี่ยวข้องที่จะใช้
- ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับกฎการออกแบบ
- การผลิตถุงมือ
- ความต้านทานของวัสดุถุงมือต่อการซึมผ่านของน้ำ
- คุณภาพในการป้องกันอันตราย และความสะดวกสบายและลักษณะการทำงาน
- คุณภาพในการป้องกันอันตราย และความสะดวกสบายและลักษณะการทำงาน

  โดยมาตรฐานของ DIN EN 420 จะมีการแบ่งออกเป็นมาตรฐานของสินค้า ดังนี้

         EN388 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเครื่องจักรหรือความเสี่ยงทางกล 
EN 388 : 2003 เป็นมาตรฐานแบบเก่า ซึ่งจะประกอบ
ไปด้วยรหัสตัวเลข 4 หลัก สื่อให้เห็นว่าถุงมือ ได้ผ่านการทดสอบ 4 ประเภท 

 

1.การทนต่อการเสียดสี (ABRASION TEST)   

  ถุงมือกันบาดระดับ1 จะสามารถทนการขัดถูได้เพียง 100 รอบ ในขณะที่ถุงมือกันบาดระดับ4 จะสามารถทนได้มากกว่า 8,000ครั้งการทดสอบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับหน้างานหรือชิ้นงานที่เหมาะสม เช่นวัสดุที่มีผิวหยาบ เช่น  อิฐ

2.การทนต่อการบาดคม(Coup Test) 

     พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ใบมีดตัดผ่านถุงมือในน้ำหนักที่เท่ากันจนกระทั้งตัดขาดถุงมือ ใบมีดที่ใช้ในการทดสอบจะเป็นใบมีดวงกลม และเคลื่อนไหวในแนวนอนบนตัวถุงมือกันบาด โดยใช้แรงคงที่ 5 นิวตัน การทดสอบจะจบเมื่อตัวถุงมือกับขาดและผลลัพธ์จะถูกประเมินจากจำนวนรอบที่ใช้ในการตัดผ่าน โดยอยู่ที่ระดับ1-5

3.การทนต่อแรงเฉือน (C–Tear Resistance) 

    ทดสอบโดยความต้านทานต่อการฉีกขาด โดยตัวผ้าของถุงมือกันบาดนั้นจะถูกกรีดออกและใช้เครื่องเป็นแรงดึงหากถุงมือทนต่อการฉีกขาดสูงจะสามารถทนต่อการทำงานใช้งานหนักมากยิ่งขึ้น ถุงมือบางรุ่นที่ได้ระดับสามารถทนได้ถึง 75นิวตัน


4.การทนต่อการเจาะทะลุ (D–Puncture Resistance) 

   ขึ้นอยู่กับแรงเจาะในลักษณะการเจาะเป็นจุดเดียวที่กระทำต่อตัวอย่างโดยขึ้นอยู่กับจำนวนแรงที่ต้องใช้ในการเจาะทะลุถุงมือ Level 4 เป็นระดับที่สูงสุดที่ผ่านการรับรองการเจาะทะลุ 

         ปัจจุบัน "EN388 : 2016 เป็นมาตรฐานแบบใหม่ โดยเพิ่มรหัสจาก 4 หลัก เป็น 6 หลัก ได้เพิ่มการทดสอบอีก
  2 ประเภท ได้แก่

   *การทนต่อการบาดเฉือน 
   
การทดสอบนี้จะใช้ใบมืดตัดผ่านถุงมือกันบาดนั้นด้วยแรงที่มากขึ้นในครั้งเดียว ในขณะที่การทดสอบเก่าจะใช้ใบมีดเคลื่อนไหวไปมาในน้ำหนักแรงกระทำของใบมีดที่เท่าเดิม 
การประเมินนี้จะขึ้นอยู่กับแรงที่วัดเป็นนิวตันที่ใช้ตัดผ่านถุงมือ โดยใบมีดจะมีความเร็วเท่าเดิมแต่แรงจะเพิ่มขึ้นไปจนกว่าถุงมือกันบาดที่ทดลองนั้นจะทะลุ โดยการประเมินนี้จะใช้ตัวหนังสือเป็นการแสดงผล ระดับ A คือต่ำสุด ถึง ระดับ F คือระดับสูงสุด

   *การทนต่อแรงกระแทก  

ในบางหน้างานผู้ใช้งานจำเป็นต้องป้องที่หลังฝ่ามือดังนั้นมาตรฐานนี้จะจำเป็นใช้ในการประเมินคุณสมบัติของถุงมือเพื่อผู้ใช้งานมั่นใจและนำมาใช้ให้เหมาะสมกับหน้างานนั้นๆ โดยการป้องกันนี้จะมียางเป็นวัสดุที่ช่วยกันหลังฝ่ามือ การทดสอบนี้จะมีจะระบุและบันทึกว่า ผ่าน(P) หรือไม่ผ่าน (X) ถุงมือที่ผ่านกันทดสอบจะทดสอบแรงกระแทกด้วยน้ำหนัก 2.5 กิโล ด้วยแรงกระแทกที่ 5J

 

ตารางเปรียบเทียบมาตรฐานEN388 เก่าและใหม่

 

  

       มาตรฐาน ANSI/ISEA 105

  -เป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาที่เน้นการประเมินความต้านทานต่อการบาด

  -ทดสอบความต้านทานต่อการบาดโดยใช้เครื่องจักร TDM-100

  -ระดับการป้องกันการบาดคมของ ANSI/ISEA 105 จะมี 9 ระดับ คือ A1-A9

ตารางเปรียบเทียบระหว่างมาตรฐานกันบาด EN388 2016 และ ANSI/ISEA105

 

ABRASION TEST (ทดสอบการเสียดสี)   COUP TEST (ทดสอบการบาดเฉียน)     STRAIGHT BLADE TEST (ISO 13997

 

         EN407 ถุงมือสำหรับป้องกันงานที่ใช้ความร้อนสูง มาตรฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะในการกันความร้อนของถุงมือ โดยจะใช้เลข 6 หลัก โดยในเลขแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงลักษณะการทนต่อการใช้งานที่ต่างกันดังต่อไปนี้
 - การต้านทานเปลวไฟ (Resistance to flammability) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4
 - การทนต่อการสัมผัสของร้อน (Contact heat resistance) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4
 - การหน่วงความร้อน (Convective heat resistance) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4
 - การต้านทานรังสีความร้อน (Radiant heat resistance) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4
 - การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดเล็ก (Resistance to small splashes of molten metal) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4
 - การทนต่อสะเก็ดโลหะหลอมขนาดใหญ่ Resistance to large splashes of molten metal) ประสิทธิภาพระดับ 0 - 4

 

           EN 511 การป้องกันความเย็นเป็นมาตรฐานยุโรปที่กล่าวถึงข้อกำหนดเฉพาะและวิธีการทดสอบสำหรับถุงมือที่ปกป้องจากความเย็น

 - แสดงให้เห็นว่าถุงมือป้องกันความเย็นแบบพาความร้อนได้ดีเพียงใด (PROTECTION AGAINST CONVECTIVE COLD ) ประสิทธิภาพระดับ 0-4
 - แสดงให้เห็นว่าถุงมือป้องกันความเย็นจากการสัมผัสได้ดีเพียงใด (PROTECTION AGAINST CONTACT COLD) ประสิทธิภาพระดับ 0-4
 - แสดงการป้องกันถุงมือจากการซึมของน้ำ (PROTECTION AGAINST WATER PENETRATION) ประสิทธิภาพ 0 หรือ 1 โดยที่ 0 หมายถึง “น้ำซึมผ่านหลังจาก 30 นาที” และ 1 หมายถึง “ไม่มีน้ำซึมผ่านหลังจาก 30 นาที”

            EN 374 การป้องกันสารเคมีและจุลินทรีย์ มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับถุงมือเพื่อป้องกันสารเคมีและจุลินทรีย์
 ที่เป็นอันตราย
 ประเภท A – 30 นาที (ระดับ 2) เทียบกับสารเคมีทดสอบอย่างน้อย 6 ตัว
 ประเภท B – 30 นาที (ระดับ 2) เทียบกับสารเคมีทดสอบอย่างน้อย 3 ตัว
 ประเภท C – 10 นาที (ระดับ 1) เทียบกับสารเคมีทด
สอบอย่างน้อย 1 ตัว

 

    ค่าบนถุงมือสารเคมีบ่งบอกถึงความสามารถในการป้องกันสารเคมีชนิดต่างๆ โดยทั่วไปจะแสดงเป็นรหัสตัวอักษรตามมาตรฐาน EN 374 ซึ่งแต่ละตัวอักษรจะแทนสารเคมีเฉพาะ ดังนี้:

   CODE ตัวอักษรที่แทนค่าสารเคมี 

   A: Methanol (เมทานอล)

   B: Acetone (อะซิโตน)

   C: Acetonitrile (อะซิโตไนไตรล์)

   D: Dichloromethane (ไดคลอโรมีเทน)

   E: Carbon disulphide (คาร์บอนไดซัลไฟด์)

   F: Toluene (โทลูอีน)

   G: Diethylamine (ไดเอทิลามีน)

   H: Tetrahydrofuran (เตตระไฮโดรฟิวแรน)

   I: Ethyl acetate (เอทิลอะซิเตต)

   J: N-Heptane (เอ็น-เฮปเทน)

   K: Sodium hydroxide 40% (โซเดียมไฮดรอกไซด์ 40%)

   L: Sulphuric acid 96% (กรดซัลฟิวริก 96%)

   M: Nitric Acid 65% (กรดไนตริก 65%)

   N: Acetic Acid 99% (กรดอะซิติก 99%)

   O: Ammonia 25% (แอมโมเนีย 25%)

   P: Hydrogen Peroxide 30% (ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 30%)

   S: Hydrogen Fluoride 40% (ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ 40%)

   T: Formaldehyde 37% (ฟอร์มัลดีไฮด์ 37%)

      

 

           EN381 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเลื่อยด้วยมือ เป็นมาตรฐานยุโรป กำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในการทำงานกับเลื่อยโซ่ เพื่อป้องกันผู้ใช้งานจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานกับเลื่อยโซ่ 

 

         EN420 ถุงมือสำหรับป้องกันงานทั่วไป มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าถุงมือจะไม่ทำร้ายผู้ใช้และสะดวกสบายและปลอดภัยในการใช้

 

          EN455 ถุงมือสำหรับป้องกันงานการแพทย์ เป็นมาตรฐานยุโรปที่บังคับใช้สำหรับถุงมือแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง

 

          EN1082 ถุงมือสำหรับป้องกันมือจากของมีคม เป็นมาตรฐานยุโรปกำหนดข้อกำหนดและวิธีทดสอบสำหรับถุงมือและแขนเสื้อที่ทำจากเกราะโซ่ระหว่างถุงมือป้องกันและที่วางแขนกับใบมีดตัด

 

          EN60903 ถุงมือสำหรับป้องกันงานไฟฟ้า เป็นข้อกำหนดสำหรับถุงมือป้องกันที่หุ้มฉนวนไฟฟ้าสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับไฟฟ้าแรงสูง

ในการเลือกซื้ออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยประเภทถุงมือนิรภัย ต้องตรวจสอบมาตรฐานของถุงมือแต่ละประเภท ให้ตรงตามลักษณะของอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น เนื่องจากแต่ละมาตรฐานจะมีวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน ตามประเภทของถุงมือนิรภัยชนิดนั้นๆ

 

    สารที่ใช้เคลือบถุงมือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย ดังนี้

 

                   ไนไตรล์ (Nitrile) 

  • ทนทานต่อสารเคมี น้ำมัน และไขมันได้ดี
  • มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อการฉีกขาด
  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความคล่องแคล่วและการสัมผัสที่ดี
  • มักใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์, งานประกอบ, และงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

                โพลียูรีเทน (Polyurethane)

  • มีความทนทานต่อการเสียดสีและการฉีกขาด
  • ให้ความรู้สึกเหมือนผิวหนัง ทำให้มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
  • เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดอ่อนและการควบคุมที่ดี
  • มักใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์, งานประกอบชิ้นส่วนขนาดเล็ก, และงานที่ต้องการความแม่นยำ

             ลาเท็กซ์ (Latex)

  • มีความยืดหยุ่นสูงและให้ความรู้สึกสบายในการสวมใส่
  • มีราคาถูก
  • อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางบุคคล
  • เหมาะสำหรับงานทั่วไป, งานทำความสะอาด, และงานที่ต้องการการปกป้องจากสิ่งสกปรก

            พีวีซี (PVC)

  • ทนทานต่อสารเคมีและน้ำได้ดี
  • มีความทนทานต่อการเสียดสีและการฉีกขาด
  • เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี, งานทำความสะอาด, และงานที่ต้องการการปกป้องจากน้ำ

           นีโอพรีน (Neoprene)

  • ทนทานต่อสารเคมี น้ำมัน และความร้อนได้ดี
  • มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อการฉีกขาด
  • เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี, งานเชื่อม, และงานที่ต้องการการปกป้องจากความร้อน

 

การเลือกชนิดของสารเคลือบถุงมือขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความต้องการในการใช้งาน หากต้องการถุงมือที่ทนทานต่อสารเคมี ควรเลือกถุงมือที่เคลือบด้วยไนไตรล์หรือพีวีซี หากต้องการถุงมือที่ให้ความคล่องแคล่วในการทำงาน ควรเลือกถุงมือที่เคลือบด้วยโพลียูรีเทน หรือลาเท็กซ์

 

     แล้วถุงมือ Safety มีกี่ประเภท มีแบบไหนบ้างนะ

 

       ถุงมือกันบาด ส่วนใหญ่ทำมาจากเส้นใยชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติป้องกันการบาด เฉือน จากของมีคม  เช่น เคฟลาร์หรือตาข่ายเหล็ก ซึ่งถุงมือกันบาดจะมีหลายระดับขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต

 

    ประเภทของถุงมือกันบาด  

1.ถุงมือกันบาดเคฟล่า เป็นถุงมือเซฟตี้ชนิดที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์กลุ่มอะรามิด มีความแข็งแรงสูง แต่มีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทก แรงดึง ทนสารเคมี ทนการบาดและเฉือนได้เป็นอย่างดี ถุงมือกันบาดเคฟล่านิยมใช้กัน ที่ระดับ 3 – 5 เหมาะสำหรับ งานอุตสาหกรรมรถยนต์ งานอุตสาหกรรมขวดแก้ว งานเครื่องจักร งานที่มีการใช้ใบมีด

2.ถุงมือกันบาดสแตนเลส เป็นถุงมือเซฟตี้ชนิดที่ผลิตจากเส้นลวดสแตนเลสเส้นเล็ก นำมาถักทอเป็นถุงมือ มีลักษณะเหมือนตาข่าย มีความแข็งแรง ทนทาน และป้องกันมือจากบาดเฉือนของคมมีดได้เป็นอย่างดี เป็นถุงมือกันบาด ระดับที่ 5 เป็นระดับสูงสุด เหมาะสำหรับ งานอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมตัดกระดาษ หรือ งานที่สัมผัสกับของมีคม งานกรีดยางพารา เป็นต้น

3.ถุงมือกันบาดเคลือบ PU หรือ ถุงมือ PU เป็นถุงมือเซฟตี้ผลิตจากเส้นด้ายที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา และเคลือบด้วย PU ซึ่งบริเวณที่เคลือบ PU นั้นจะมีความทนทาต่อสารเคมี น้ำมันจารบี ช่วยให้หยิบจับชิ้นงาน หรือวัตถุได้แม่นยำมากขึ้น เหมาะสำหรับ งานอุตสหกรรมเหล็กและโลหะ งานอุตสาหกรรมอลูมิเนียม งานอุตสาหกรรมกระจก งานอุตสาหกรรมออโต้พาร์ท งานอุตสาหกรรมสแตนเลส หรืองานที่ต้องสัมผัสกับของมีคม

 

        ถุงมือกันสารเคมี  ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุที่ทนต่อสารเคมี เช่น นีโอพรีนหรือไนไตรล์เพื่อป้องกันการสัมผัสสารเคมี

 ประเภทของถุงมือกันสารเคมี  

1.ถุงมือยางธรรมชาติ (Natural Rubber Latex) 

 

ป้องกันได้ดี: กรดอ่อน, ด่างอ่อน, แอลกอฮอล์, และสารละลายน้ำ
ไม่เหมาะกับ: น้ำมัน, จาระบี, และสารละลายอินทรีย์

2.ถุงมือไนไตรล์ (Nitrile)
ป้องกันได้ดี: น้ำมัน, จาระบี, สารละลายอินทรีย์, และสารเคมีหลายชนิด

ทนทานต่อการเสียดสีและการเจาะทะลุ มีทั้งแบบใช้แล้วทิ้ง (ไนไตรบางไม่มีแป้ง) และแบบใช้ซ้ำ

 3.ถุงมือนีโอพรีน (Neoprene)

ป้องกันได้ดี: กรด, ด่าง, แอลกอฮอล์, น้ำมัน, และจาระบี ทนทานต่อการสึกหรอและการฉีกขาด

เหมาะสำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีหลากหลายชนิด

 4.ถุงมือพีวีซี (PVC – Polyvinyl Chloride)

ป้องกันได้ดี: กรด, ด่าง, น้ำมัน, และไขมัน
ราคาไม่แพง และทนทาน ไม่เหมาะกับสารละลายอินทรีย์บางชนิด

 

  5.ถุงมือยางบิวทิล (Butyl Rubber)

ทนต่อการขัดถูและยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำ ทนต่อการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้เป็นอย่างดี ราคาสูง

ไม่ทนต่อ อะลิฟาติก ไฮโดรคาร์บอนบางจำพวก แก๊สโซรีน สารละลายที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ

เหมาะกับอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซและคีโตน 

  

 

        ถุงมือกันความร้อน ส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์สำหรับต้านความร้อนสูง เช่น ไฟเบอร์กลาส อลูมิไนซ์หรือหนัง

   ปรเภทของถุงมือกันความร้อน

1.ถุงมือกันความร้อนอะลูมิไนซ์
อะลูมิไนซ์เป็นวัสดุคล้ายแผ่นเหล็กที่มีชั้นอะลูมิเนียมบาง ๆ เคลือบอยู่บริเวณส่วนบนของตัวผิวสัมผัส จึงมีคุณสมบัติเด่นในด้านการทนทานต่อสารกัดกร่อน ทนต่อความร้อนได้สูงมาก และยังสามารถสะท้อนรังสีได้ดี เกิดรอยขีดข่วนได้ยาก เหมาะจะใช้สำหรับงานเชื่อม งานที่ทำกับเตาไฟ โรงหล่อ หรือหลอมโลหะ เพราะเป็นฉนวนป้องกันความร้อน


2.ถุงมือกันความร้อนเคฟล่า
เคฟล่า (Kevlar) คือ วัสดุที่ผลิตขึ้นจากเส้นใยสังเคราะห์ชนิดหนึ่งมีความหนา แข็งแรง ทนทาน ป้องกันสิ่งของมีคม ทนต่อความร้อนสูงเช่นกัน และยังไม่เกิดความเสียหายแม้ต้องอยู่กับรังสียูวีเป็นเวลานาน


3.ถุงมือหนัง
ใช้ป้องกันอันตรายจากประกายไฟ หรือสะเก็ดไฟจากงานเชื่อม ใช้ป้องกันความร้อนได้ในระดับปานกลาง และในบางครั้งอาจใช้สวนทับถุงมือกันไฟฟ้าเพื่อป้องกันการฉีกขาดและยืดอายุการใช้งานของถุงมือกันไฟฟ้า อาจจะทำจากหนังสัตว์หรือหนังฟอกก็ได้

 

(4.)ถุงมือกันความเย็น ทำจากวัสดุที่สามารถทนความเย็นได้ เช่น อะคริลิกหรือโพลีเอสเตอร์ เพื่อป้องกันอุณหภูมิที่เย็นจัด

 

(5.)ถุงมือกันกระแทก วัสดุที่ใช้ในการผลิตมีลักษณะคล้ายถุงมือกันบาด แต่สามารถระบายอากาศได้ดีกว่า เพื่อใช้ป้องกันแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง เช่น เครื่องเจาะ และมีส่วนสำหรับรองรับแรงกระแทกบริเวณมือและนิ้ว ถุงมือกลุ่มนี้มักจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ วัสดุดูดซับแรงสั่นสะเทือน เช่น ยางพิเศษหรือเจลโพลิเมอร์ ส่วนของวัสดุเสริมความแข็งแรง เช่น หนังสัตว์หรือผ้าไนลอน และส่วนวัสดุบุด้านในอาจใช้เป็นโฟมหรือซิลิโคนเจล

 

(6.)ถุงมือฉนวนไฟฟ้า ทำด้วยยางหรือวัสดุฉนวนอื่น ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

ถุงมือกันไฟฟ้า ทำจากยางสังเคราะห์ จำพวก Ethylene Propylene Diene Monomer หรือ EPDM เป็นถุงมือที่ผลิตมาเพื่อกันกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งถุงมือยางทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้กับไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันที่ต่างกัน ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกใช้ถุงมือกันไฟฟ้าโดยเฉพาะในการป้องกัน ซึ่งถุงมือชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้ 5 ระดับ ตาม Voltage หรือ แรงดันไฟฟ้า

ถุงมือกันกระแสไฟฟ้า มีระดับตามนี้
Class 00 – 500 V / 2,500 ป้องกันไฟฟ้าได้ 500 V ใช้ในงานไฟฟ้าทั่วไป
Class 0 – 1,000 V / 5,000 ป้องกันไฟฟ้าได้ 1,000 V
Class 1 – 7,500 V / 10,000 ป้องกันไฟฟ้าได้ 7,500 V
Class 2 – 17,000 V / 20,000 ป้องกันไฟฟ้าได้ 17,000 V
Class 3 – 26,500 V / 30,000 ป้องกันไฟฟ้าได้ 26,500 V
Class 4 – 36,000 V / 40,000 ป้องกันไฟฟ้าได้ 36,000 V
คำแนะนำ : ควรมีการใช้ถุงมือหนังแบบสวมทับอีกชั้น เพื่อช่วยป้องกันหากมีการทำงาน ที่อาจจะเกิดการฉีกขาดของถุงมือขึ้น

 

(7.)ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง ผลิตจากวัสดุอย่างลาเท็กซ์หรือไนไตร ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งมักใช้ในสถานพยาบาลหรือบริการด้านอาหารเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อน ถุงมือประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้สวมใส่แบบชั่วคราวหรือใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อป้องกันมือไม่ให้สัมผัสกับสิ่งสกปรกต่างๆ โดยตรง เช่น ฝุ่น น้ำมัน สารเคมี เชื้อโรคและสารคัดหลั่ง ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งเป็นที่นิยมนำไปใช้ในการทำงานและกิจกรรมได้อย่างหลากหลายทั้งทางด้านครัวเรือน ทางเชิงพาณิชย์ ทางการแพทย์ และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ

       ประเภทของถุงมือใช้แล้วทิ้ง 

       1.ถุงมือลาเท็กซ์แบบใช้แล้วทิ้ง (Latex Disposable Gloves)
ถุงมือลาเท็กซ์มักเรียกอีกชื่อว่าถุงมือแพทย์ เนื่องจากใช้ในการแพทย์มาอย่างยาวนาน ถุงมือที่ผลิตจากยางธรรมชาติอาจทำให้ผู้ที่แพ้โปรตีนอาจเกิดอาการแพ้ผื่นขึ้นได้ ดังนั้นถุงมือชนิดนี้จึงมีวางจำหน่ายทั้งชนิดมีแป้งและชนิดไม่มีแป้งให้เลือกใช้งาน


       2.ถุงมือไนไตรแบบใช้แล้วทิ้ง (Nitrile Disposable Gloves)
เป็นถุงมือยางทางการแพทย์เช่นกัน แต่ถุงมือชนิดนี้ผลิตจากยางสังเคราะห์จากปิโตรเลียมรวมกับสารเคมีที่สำคัญอื่นๆ
แต่เนื้อถุงมือจะมีความเหนียวแน่น แข็งแรง ทนต่อสารเคมีทุกชนิด น้ำมัน ไขมันสัตว์ กรด เบสและทนแรงฉีกขาดได้ดีกว่า และมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าถุงมือยางธรรมชาติทำให้สวมใส่แล้วไม่ค่อยกระชับมือ


      3.ถุงมือไวนิลแบบใช้แล้วทิ้ง (Vinyl Disposable Gloves)
ถุงมือไวนิลแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นถุงมือที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันการปนเปื้อนเป็นหลัก โดยผลิตจากโพลิไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC ซึ่งเป็นวัสดุพลาสติกสังเคราะห์ทำให้มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิตย์และทำปฏิกิริยาต่อสารเคมีค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ถุงมือไวนิลแบบใช้แล้วทิ้งจะมีราคาถูก จึงนิยมนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การวาดรูป การทาสี การทำความสะอาด

(8.)ถุงมือสำหรับงานเชื่อม ทำด้วยวัสดุ เช่น หนัง เพื่อป้องกันความร้อน ประกายไฟ และรังสียูวี เป็นถุงมือที่ใช้ใส่สำหรับทำงานเชื่อมโดยเฉพาะงานเชื่อมอาร์กอน สามารถทนความร้อน ทนสะเก็ดไฟจากการเชื่อม ในบางรุ่นสามารถป้องกันการบาดเฉือนได้ด้วยส่วนใหญ่จะผลิตมาจากหนังวัว

       ประเภทของถุงมือสำหรับงานเชื่อม

    1.ถุงมือหนังแท้: ทำจากหนังสัตว์แท้ 100% มีความทนทาน แข็งแรง ป้องกันความร้อนและประกายไฟได้ดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับความร้อนสูงและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
   2.ถุงมือหนังกลับ: ผลิตจากหนังสัตว์ที่ผ่านการฟอกด้วยวิธีพิเศษ โดยใช้ด้านในของหนังเป็นด้านนอก ทำให้มีความหนา ทนทาน แต่ยังคงความยืดหยุ่น เหมาะกับงานเชื่อมหลายประเภท
   3.ถุงมือหน้าหนังแท้หลัง PVC: เป็นถุงมือที่ใช้หนังแท้ในส่วนฝ่ามือและด้านหน้านิ้ว ส่วนหลังมือใช้วัสดุ PVC ราคาจึงถูกกว่าถุงมือหนังแท้ทั้งคู่ เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวแต่ความร้อนไม่สูงมาก

 

      วามแตกต่างของชนิดผ้า NYLON และ POLYESTER 

    Nylon vs Polyester 

           โดยผิวสัมผัสเบื้องต้นแล้ว ไนลอนจะมีผิวสัมผัสที่นุ่มกว่า โพลีอีสเตอร์ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไนลอนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมาทดแทนเส้นใยไหม  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีผิวสัมผัสที่นิ่ม เบา แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีอุตสหกรรมการผลิตสมัยใหม่ทำให้มีการพัฒนาการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ให้มีความนุ่มเทียบเท่ากับไนลอน หรือกระทั้งผ้าฝ้ายได้เลยทีเดียว ในด้านของความคงทนทั้งไนลอน กับ โพลีเอสเตอร์ มีส่วนประกอบทางโครงสร้างโพลิเมอร์อยู่ดังนั้นจึงทำให้ทั้งสองตัวมีความแข็งแรงและมีน้ำหนักที่เบา ความพิเศษที่แตกต่างของสองตัวนี้ คือ ไนลอน จะมีความแข็งแกร่งในแง่ของ ‘ความยืดหยุ่นมากกว่า’ ส่วนในด้าน โพลีเอสเตอร์จะมีความแข็งแกร่งอยู่ตัวมากกว่าเมื่อมีขาดพังลงเส้นใยโพลิเมอร์จะยังอยู่ตัวได้มากกว่าไนลอน

            นอกจากนี้ข้อดีพิเศษของโพลีเอสเตอร์คือ การแห้งตัวเร็วเมื่อโดนน้ำ ซึ่งหมายถึงน้ำที่ระเหยจากผิวของผิวผ้าได้เร็วนั่นเอง ในขณะที่ ไนลอน จะมีการดูดซับน้ำมากกว่า โพลีเอสเตอร์ หมายความว่า ผ้าไนลอนจะ แห้งช้ากว่า

 

 

 

 

Reference

https://www.celicagroup.com/th/articles/270410-

https://thai-safetywiki.com/safety-gloves-standard/

https://verisafe.co.th/product-category/safety-gloves/chemical-resistant-gloves/

https://www.leaf.tv/articles/nylon-vs-polyester-fabric/

https://www.diffen.com/difference/Nylon_vs_Polyester

https://www.tori-thailand.com/post/blg_11

https://www.mapa-pro.com/standards/standard-en-388-mechanical

https://www.safetyandhealthmagazine.com/articles/23357-hand-protection-test-standards

https://www.ergodyne.com/blog/ansi-105-en-388-what-you-need-to-know