อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Respirator)

หน้ากากกันฝุ่น

สามารถแบ่งหน้ากากกันฝุ่นออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้และประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น

หน้ากากกระดาษครึ่งหน้าแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถกรองฝุ่นละออง ไอระเหย กรด ก๊าซเจือจาง แต่ไม่สามารถป้องกัน ไอระเหย สารเคมีอันตรายได้

หน้ากากผ้า  ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าสังเคราะห์ สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดใหญ่ได้ดี แต่ไม่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพราคาถูก หายใจสะดวก สวมใส่สบาย แต่จะป้องกันฝุ่นละอองได้ไม่ดีเท่าหน้ากากชนิดอื่น เหมาะกับการป้องกันฝุ่นละอองในชีวิตประจำวัน เช่น การกวาดบ้าน หรือทำความสะอาด

หน้ากาก N95 ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูง สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถึง 95% รวมถึง PM2.5และป้องกันฝุ่นละอองได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูงแต่อาจจะหายใจไม่สะดวกเท่าหน้ากากผ้า และราคาค่อนข้างสูง

เหมาะกับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง หรือในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

หน้ากาก KN95  คล้ายคลึงกับหน้ากาก N95 แต่เป็นมาตรฐานของประเทศจีน

สามารถกรองฝุ่นละอองได้ดี แต่ประสิทธิภาพอาจไม่เท่าหน้ากาก N95 คือราคาถูกกว่าหน้ากาก N95เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองปานกลาง

หน้ากาก KF94 ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพในการกรองสูงกรองฝุ่นละอองได้ดีเยี่ยม มีรูปทรงที่กระชับใบหน้าสวมใส่สบาย หายใจสะดวกแต่ราคาสูงกว่าหน้ากากชนิดอื่น

เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูง หรือสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ

หน้ากากกันฝุ่นแบบมีวาล์ว มีวาล์วสำหรับระบายอากาศออก สามารถกรองฝุ่นละอองได้ดีหายใจสะดวก ลดความอับชื้น แต่อาจทำให้เชื้อโรคกระจายได้

เหมาะสำหรับทำงานในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูงและต้องการระบายอากาศ

 

มาตรฐานหน้ากากป้องกันที่นิยมใช้ ได้แก่  NIOSH N95, EN149 FFP1,2,3 และ GB KN95 เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคของหน้ากากป้องกัน ซึ่งรวมถึงฝุ่นละออง เชื้อโรค และสารเคมีบางชนิด โดยแต่ละมาตรฐานจะมีเกณฑ์การทดสอบและระดับการป้องกันที่แตกต่างกันไป

NIOSH N95 : เป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา กำหนดโดยสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (National Institute for Occupational Safety and Health) หมายถึงหน้ากากสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้อย่างน้อย 95%

 

EN149 FFP1, FFP2, FFP3 : เป็นมาตรฐานของยุโรป กำหนดโดยคณะกรรมการมาตรฐานยุโรป (European Committee for Standardization) โดย

FFP1: กรองอนุภาคได้อย่างน้อย 80%

FFP2: กรองอนุภาคได้อย่างน้อย 94%

FFP3: กรองอนุภาคได้อย่างน้อย 99%

 

GB KN95 : เป็นมาตรฐานของจีน กำหนดโดยหน่วยงานมาตรฐานแห่งชาติของจีน (China National Standardization Administration) หมายถึงหน้ากากสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้อย่างน้อย 95%

 

วิธีการสวมใส่และการทดสอบความแนบสนิท (Fit check) ของหน้ากากกรองอนุภาค

1. ใช้มือด้านที่ไม่ถนัดจับด้านหน้าของหน้ากาก โดยหันด้านในของหน้ากากเข้าหาตัว

2. ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายรัดมาไว้ด้านหน้าของหน้ากาก ในกรณีที่หน้ากากพับอยู่ให้คลี่หน้ากากออก

3. วางหน้ากากครอบปิดคลุมจมูกและปาก โดยให้ลวดของหน้ากากคลุมด้านบนจมูก

4. ใช้มือที่ถนัดดึงสายรัดเส้นล่างมาด้านหลังศีรษะ โดยสายรัดจะอยู่บริเวณท้ายทอยต่ำกว่าหู

5. ใช้มือที่ถนัดดึงสายวัดเส้นบนมาด้านหลังศีรษะ โดยสายรัดจะอยู่บนศีรษะเหนือหู

6. จัดหน้ากากให้พอดีกับใบหน้า และใช้มือทั้งสองข้างกดลวดบริเวณจมูกให้แนบจมูกและหน้า

7. ทดสอบความแนบสนิท (Fit check) โดยวางมือทั้งสองข้างบนหน้ากากแล้วหายใจออกแรงๆ เพื่อทดสอบว่ามีลมออกหรือไม่ หากมีลมออกให้ขยับหน้ากากใหม่ให้พอดีจนกว่าจะไม่มีลมออกเมื่อหายใจแรงๆ

          สำหรับอายุการใช้งานของหน้ากากขึ้นอยู่กับความรู้สึกขณะสวมใส่ (หากหายใจลำบาก อึดอัดมากแสดงว่าหน้ากาก/แผ่นกรองอาจหมดอายุแล้ว) และสภาพของหน้ากาก (หากส่วนหนึ่งส่วนส่วนใด สภาพเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สายรัดยืด ไม่มีลิ้นระบายอากาศ ต้องหาอะไหล่เปลี่ยนหรือเปลี่ยนหน้ากากทั้งชุด)

หน้ากากกันสารเคมี

มีหลากหลายชนิดและรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสารอันตรายที่ต้องเผชิญ ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1.อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบกรองอากาศ (Air-Purifying Respirators - APRs) หน้ากากป้องกันพร้อมตัวกรองอากาศ มีทั้งหน้ากากแบบครึ่งหน้า และหน้ากากแบบเต็มหน้า โดยจะใช้ตัวกรอง ตลับกรอง หรือกระป๋อง เพื่อกรองก๊าซ ไอระเหย ละอองลอย หรือสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากอากาศ บางทีจะเรียกว่าเป็น Power Air purifying Respirators (PAPRS) หน้ากากจะครอบทั้งศรีษะ และมีเครื่องเป่าลม แบตเตอรี่ที่คอยดึงอากาศผ่านตัวกรอง

   -หน้ากากแบบครึ่งหน้า จะป้องกันสารเคมีบริเวณจมูกและปาก มีให้เลือกหลายวัสดุตามความชอบของผู้ใช้งานเช่น ยางธรรมชาติ และซีลิโคลน และมีให้เลือกทั้งแบบไส้กรองเดี่ยวและคู่ใช้ร่วมกับตลับกรองป้องกัน ไอระเหย กรดแก๊ส และอนุภาคอื่นๆ

   -หน้ากากแบบเต็มหน้า จะป้องกันสารเคมีเต็มใบหน้าโดยปกติแล้วจะใช้ในงานที่มีสารเคมีอันตรายสูง หรือหน้างานที่อันตรายสูง ใช้ร่วมกับตลับกลองกันสารเคมีเช่นกัน 

         หน้ากากทั้งสองชนิดสามารถแบ่งเป็น หน้ากากไส้กรองเดี่ยวและหน้ากากไส้กรองคู่  โดยแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและเหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสารอันตรายที่ต้องการป้องกัน 

 

            นอกจากนี้ การเลือกใช้ไส้กรองให้เหมาะสมกับหน้างานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องรู้ว่า สารเคมี สารพิษ กรดแก๊ส ฝุ่น ที่จะต้องเจอเป็นอย่างไรเพื่อเลือกใช้ไส้กรองและหน้ากากให้เหมาะสม และเพื่อความปลอดภัยที่สูงสุด

ไส้กรองฝุ่น: ออกแบบมาเพื่อกรองฝุ่นละอองทั่วไป เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม

ไส้กรองสารเคมี: กรองไอระเหยของสารเคมีต่างๆ เช่น สีทินเนอร์ กาว เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

ไส้กรองอนุภาคขนาดเล็ก: กรองอนุภาคขนาดเล็กมาก เช่น สปอร์รา ใยหิน เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารอันตรายที่มีขนาดเล็กมาก

 

สีของไส้กรองจะแยกออกดังนี้ตามมาตรฐาน NIOSH ดังนี้

หมายเหตุ การเลือกใช้ไส้กรองให้เหมาะสมกับหน้างานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องรู้ว่า สารเคมี สารพิษ กรดแก๊ซ ฝุ่น ที่จะต้องเจอเป็นอย่างไร เพื่อเลือกใช้ไส้กรองและหน้ากากให้เหมาะสม และเพื่อความปลอดภัยที่สูงสุด

2. อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบจ่ายอากาศ Supplied Air Respirators (SARs)  หรือเครื่องช่วยหายใจแบบมีท่อลมเป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้ในสถานที่ที่อากาศโดยรอบอาจไม่ปลอดภัยต่อการหายใจ เครื่องช่วยหายใจชนิดนี้ใช้ท่อลมเพื่อส่งอากาศจากภายนอกเขตอันตราย SARs อาจเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบไหลคงที่หรือแบบใช้แรงดันก็ได้ เครื่องช่วยหายใจชนิดนี้คล้ายกับเครื่องช่วยหายใจแบบพกพา (SCBA) แต่SARs มีน้ำหนักเบากว่า อากาศที่ได้รับจะไม่ได้เป็นอากาศที่อยู่นบริเวณหน้างาน ตัวหน้ากากจะเป็นแบบเต็มหน้าและมีสายเชื่อมต่อเครื่องปั้มจ่ายอากาศ ส่วนมากจะเหมาะกับหน้างานที่สัมผัสกับสารเคมี หรือไอระเหยเป็นเวลานาน เช่น งานพ่นสี   

 

การสวมใส่หน้ากากป้องกันสารเคมี แบบถูกวิธี และรวดเร็ว

1. หงายหน้ากากขึ้น ให้สายรัดทั้งสองเส้นตกห้อยอย่างอิสระ สอดมือซ้ายรอดสายคล้องทั้งสอง

2. ประกบหน้ากากเข้ากับใบหน้า ให้ส่วนล่างคลุมคาง และแถบอลูมิเนียมอยู่บนสันจมูก ดึงสายรัดเส้นบนไปด้านหลังศีรษะ โดยพาดเฉียงเหนือใบหู

3. จากนั้นดึงสายรัดเส้นล่างไปรัดบริเวณต้นคอ จัดสายรัดให้เรียบร้อย

4. ใช้นิ้วทั้งสองรีดแถบอลูมิเนียมให้แนบกับสันจมูก

5. ตรวจสอบความแนบสนิทโดยใช้มือทั้งสองข้างโอบรอบหน้ากาก หายใจออกแรงกว่าปกติเล็กน้อย ถ้ามีอากาศรั่วไหลที่ขอบหน้ากาก ให้รีดแถบอลูมิเนียมหรือปรับตำแหน่งของหน้ากากใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Reference : 

https://www.osha.gov/etools/respiratory-protection

https://www.mhesi.go.th/index.php/en/content_page/item/1350-papr-ppe.html

https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1002520200525043241.pdf

https://www.cdc.gov/niosh/npptl/topics/respirators/disp_part/default.html#:~:text=Surgical%20N95%20%E2%80%93%20A%20NIOSH%2Dapproved,least%2099.97%25%20of%20airborne%20particles.

https://www.uvex-safety.co.uk/en/knowledge/safety-standards/respiratory-protection/ 

https://www.tdi.texas.gov/pubs/videoresource/stptypesofrespi.pdf