อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses)
อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า
อุปกรณ์ป้องกันสายตาและใบหน้า มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีการบังคับใช้แว่นตานิรภัยสำหรับงานไฟฟ้าหรือกระบังหน้า ตามมาตรฐาน OSHA 29 CFR 1910.133ซึ่งเป็นกฎหมายที่สำคัญมากสำหรับการปกป้องความปลอดภัยของดวงตาและใบหน้าของพนังงาน โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมและบังคับให้พนักงานสวมใส่ ได้กำหนดผู้ที่ทำงานต้องสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นในขณะทำงาน เช่นวัตถุที่พุ่งในอากาศ โลหะหลอมเหลว สารเคมี กรดหรือด่าง สารเคมี แก๊ส หรือแสงที่มีแนวโน้มเป็นอันตราย
การได้รับบาดเจ็บที่ตาและใบหน้า โดยทั่วไปเกิดจากวัตถุปลิวในอากาศ ตกจากที่สูง หรือประกายไฟ วัตถุที่เหวี่ยงมาเช่น โซ่ เชือก เป็นต้น อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในรูปแบบที่ต่างกัน ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันสายตาที่ใช้จึงไม่เหมือนกัน เช่น แว่นครอบตา กระบังหน้า กระหน้ากากเชื่อม แว่นตาเชื่อม
อุปกรณ์ป้องกันดวงตาหรือแว่นตานิรภัยนั้นมีหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับงานและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆดังนี้
1. แว่นตานิรภัย (Safety Glasses) มีลักษณะคล้ายแว่นตาทั่วไป แต่มีเลนส์ที่แข็งแรงและออกแบบมาเพื่อป้องกันตาจจากอันตรายต่างๆ แว่นตานิรภัยมีหลายแบบแบ่งได้ตามลักษณะของงาน
2. แว่นครอบตา (Goggles) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ครอบคลุมดวงตา ป้องกันได้ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบน แบ่งได้ 3 แบบ
- แว่นครอบตาป้องกันวัตถุกระแทก เหมาะสำหรับงานที่อาจมีเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา เช่นงานเจียร งานตัด ป้องกันสารเคมีที่อาจกระเด็นเข้าตา
- แว่นครอบตาสำหรับงานเชื่อม ออกแบบมาเพื่อป้องกันแสงจ้า รังสี และความร้อนจากการเชื่อม
มาตรฐานของแว่นตานิรภัย (Safety Glass)
เป็นสิ่งสำคัญมากในการรับประกันว่าแว่นตาที่คุณเลือกใช้จะสามารถป้องกันดวงตาของคุณจากอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานเหล่านี้จะกำหนดคุณสมบัติต่างๆของแว่นตา เช่น ความแข็งแรง ความทนทานต่อแรงกระแทก และความสามารถในการป้องกันแสงที่เป็นอันตราย
- มาตรฐานANSIZ87.1 คือ มาตรฐานที่ได้การยอมรับมากที่สุดของแว่นตานิรภัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute) มาตรฐานนี้มีข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การทดสอบและการใช้งานแว่นตานิรภัย เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถป้องกันดวงตาจากอันตรายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ แว่นตาที่ผ่านมาตรฐาน ANSIZ87.1 จะต้องผ่านการทดสอบหลายอย่าง ดังนี้ - การทดสอบแรงกระแทก เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของเลนส์และโครงสร้างของแว่นตา - การทดสอบการเจาะ เพื่อตรวจสอบความสามารถในการป้องกันวัตถุแหลมคม
- มาตรฐาน EN166 เป็นมาตรฐานของสหภาพยุโรป ที่กำหนดสำหรับอุปกรณ์ป้องกันดวงตาส่วนบุคคล
- มาตรฐานAS/NZS1337.1 เป็นมาตรฐานของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่กำหนดสำหรับอุปกรณ์ป้องกันดวงตาส่วนบุคคล
เลนส์แว่นตานิรภัย
วัสดุที่นิยมใช้ทำเลนส์แว่นตานิรภัยมากที่สุด คือ โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ทนทานต่อแรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง ซึ่งแต่ละประเภทก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับงานและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
- เลนส์ใส เหมาะสำหรับงานทั่วไปที่ต้องการความใสของเลนส์ เหมาะสำหรับงานในร่มที่ต้องการป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา หรือใช้เป็นเลนส์สำหรับแวนครอบตาสวมทับแว่นตา
- เลนส์สีเทา ช่วยลดแสงจ้า เหมาะสำหรับงานกลางแจ้ง ที่ต้องเผชิญกับแสงแดด สามารถช่วยลดแสงและป้องกันรังสี UV ได้ระดับหนึ่ง
- เลนส์สีเขียว ช่วยเพิ่มการมองเห็นความแตกต่างของแสง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียด สามารถลดความเมื่อยล้าของตา และให้ความคมชัดที่ดี
- เลนส์สีเหลือง ช่วยเพิ่มความคมชัดในพื้นที่แสงน้อย หรือในสภาพที่มีหมอกควัน เหมาะสำหรับงานเชื่อมหรืองานที่ต้องมองเห็นรายละเอียดเล็กๆ
- เลนส์น้ำเงิน ช่วยลดแสงสะท้อน เหมาะสำหรับงานเชื่อม ที่ต้องการลดแสงและเพิ่มความคมชัดของสี
- แว่นตานิรภัยแบบตัดเลนส์สามารถนำเลนส์สายตาส่วนตัวมาประกอบเข้ากับกรอบแว่นตานิรภัยได้ให้ความพอดีและความสบายในการสวมใส่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแว่นตานิรภัยที่เป็นหนึ่งเดียวกับแว่นสายตา
- แว่นตานิรภัยแบบมีเลนส์สายตาในตัว เป็นแว่นตานิรภัยที่ผลิตมาพร้อมเลนส์สายตาที่ปรับได้สะดวกในการใช้งาน แต่มีตัวเลือกในการปรับเลนส์ค่อนข้างจำกัด
วิธีการสวมใส่แว่นตานิรภัยที่ถูกต้อง
- เลือกขนาดที่พอดี ควรกระชับพอดีกับใบหน้า ไม่หลวมหรือแน่นจนเกินไป
- ปรับสายรัดให้กระชับพอดีกับศีรษะ เพื่อให้แว่นตานิรภัยอยู่กับที่ขณะทำงาน
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลนส์ไม่มีรอยขีดข่วนหรือรอยแตก
ข้อควรระวังในการใช้งาน
- อย่าดัดแปลงแว่นตานิรภัย เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง
- ทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำสะอาดและผ้าไมโครไฟเบอร์อย่างสม่ำเสมอ
- หากแว่นตานิรภัยมีรอยขีดข่วน รอยแตก หรือชำรุด ควรเปลี่ยนใหม่ทันที
- สวมใส่แว่นตานิรภัยตลอดเวลาที่ทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
หมายเหตุเพิ่มเติม
- ต้องกันอันตรายหลายชนิดพร้อมกัน ต้องใช้การป้องตา และใบหน้ากันสูงสุดสำหรับอันตรายแต่ละชนิด
- อุปกรณ์ป้องกันสายตา และใบหน้าที่สามารถกันความร้อนและรังสีได้ เช่น แว่นกระบังหน้าเลนส์ปรอท
- กระบังหน้าจะใช้เมื่อคนงานสวมอุปกรณ์ป้องกันตาชนิดหลัก (แว่นตา หรือแว่นครอบตา)
- มาตรฐานเลนส์ป้องกันมีความเข้มตามที่ระบุให้ในข้อบังคับ การป้องกันรังสีต้องมีความเข้มสูงสุด มืดที่สุดแต่ยังสามารถทำงานได้
- คนที่มีปัญหาสายตา ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันชนิดใช้เลนส์ปรับสายตา หรือแว่นเซฟตี้ที่ออกแบบมาเพื่อสวมทับแว่นสายตา
- ผู้ที่ใส่คอนแท็คเลนส์ต้องเหลือกอุปกรณป้องกันตาและใบหน้าให้เหมาะสมใรสภาพแวดล้อมที่อันตราย
- ระวังแว่นเซฟตี้ หรือโครง แผ่นกระบังหน้าที่มีโลหะเมื่อต้องทำงานที่มีอันตรายจากไฟฟ้า
- หาอุปกรณ์ทำความสะอาดบ่อยๆ
- หน้ากากเชื่อม ควรใช้ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันสายตา
- แว่นตาที่ไม่มีกระบังด้านข้างให้ใช้เฉพาะป้องกันด้านหน้าเท่านั้น
- ต้องมีการระบายอากาศภายในตัวอุปกรณ์ แต่ต้องป้องกันการสาดกระเซ็นของเหลวได้ดี
Reference
www.safetylifethailand.com